ReadyPlanet.com


รู้จักกับ 22 “เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก”


 ตั้งแต่เกิดโรคระบาดโควิด-19 หลายคนรู้สึกเหมือนโลก ‘หยุดเดิน’ เพราะเราต้องอยู่แต่บ้าน ไม่ได้เดินทางไปไหน แต่ในความเป็นจริงแล้ว เพราะข้อจำกัดเหล่านี้ต่างหาก โลกจึงถูกบีบให้ ‘ก้าวหน้า’ อย่างรวดเร็วในแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน!โดยเฉพาะในด้านของ “เทคโนโลยี”เพราะทุกธุรกิจต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด นวัตกรรมใหม่ๆ มากมายจึงถูกเร่งสร้างมาเพื่อช่วยให้โลกขับเคลื่อนต่อไปได้ ทั้งด้านของเศรษฐกิจ การศึกษา การแพทย์ ไปจนถึงการออกแบบ หนึ่งเหตุการณ์สำคัญคือการพัฒนาวัคซีน mRNA จนใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้จะมีการศึกษามากว่าทศวรรษแล้ว แต่ขั้นตอนการพัฒนา การทดลอง ไปจนถึงการอนุญาตใช้จริงยังเร็วกว่าวัคซีนในอดีตหลายเท่าแต่ว่านอกจาก mRNA นี้ ยังมีอีกหลายเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็วเช่นกัน ตั้งแต่แท็กซี่บินได้ เทคโนโลยีการนอน ไปจนถึงควอนตัมคอมพิวเตอร์ มาดูกันดีกว่าว่า ในปี  สล็อต pg

1) กางร่มให้โลกด้วยเทคโนโลยี Solar Geoengineering 

ในปี 1991 ภูเขาไฟปีนาตูโบในฟิลิปปินส์เกิดการปะทุขึ้น สร้างความเสียหายจำนวนมาก หลายครัวเรือนต้องสูญเสียที่อยู่อาศัยและต้องตกงาน แต่ในเรื่องเลวร้ายก็ยังมีเรื่องดีอยู่บ้าง เพราะเถ้าภูเขาไฟและฝุ่นที่ลอยขึ้นไปในชั้นบรรยากาศนั้นส่งผลให้โลกเย็นลงถึง 0.5 องศาเซลเซียสนานกว่า 4 ปีด้วยเหตุนี้เองจึงมีการพัฒนาเทคโนโลยีที่เรียกว่า “Solar Geoengineering” หรือการกางร่มให้โลกแบบเดียวกับที่ภูเขาไฟทำโดยบังเอิญ แต่วิศวกรจะทำโดยตั้งใจ อย่างไรก็ตาม มีการถกเถียงกันมาอย่างยาวนานว่าวิธีนี้จะได้ผลจริงหรือเปล่า จะกระทบสภาพอากาศของโลกไหม หรือถ้าทำสำเร็จ มันจะทำให้คนเลิกรักษ์โลกหรือเปล่า ข้อกังขามากมายทำให้เทคโนโลยีนี้ยังไม่ถูกสนับสนุนและพัฒนาอย่างเต็มรูปแบบถึงกระนั้น ในปี นี้ กลุ่มนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดก็ได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่า จะลองปล่อยบอลลูนขึ้นไปในชั้นบรรยากาศสตราโทสเฟียร์ และปล่อยวัสดุบางอย่างที่มีการทำงานคล้ายกับเถ้าภูเขาไฟ (อย่างแคลเซียมคาร์บอเนต) จำนวน 2 กิโลกรัม เพื่อวัดผลดูว่าจะกระจายวงกว้างแค่ไหนและมีผลกระทบอย่างไรบ้างผู้ที่เห็นด้วยกับเทคโนโลยีนี้มองว่าเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่เราต้องเข้าใจเรื่องนี้ เพราะหากเราลดการปล่อยก๊าซไม่ได้และต้องการซื้อเวลาเพื่ออยู่ต่อบนโลกนี้จริงๆ เทคโนโลยี Solar Geoengineering นี่แหละอาจเป็นคำตอบ มีอะไรหน้าจับตามองบ้าง

2) เครื่องปั๊มความร้อน

อากาศร้อนเลยต้องเปิดแอร์กันเยอะก็เป็นปัญหาแล้ว แต่อากาศหนาวที่ต้องใช้เครื่องทำความร้อนก็เป็นปัญหาไม่แพ้กัน การให้ความอบอุ่นแก่บ้านและอาคารต่างๆ ในหน้าหนาวนั้นปล่อย ‘มลพิษ’ มากถึง 1 ใน 4 จากการปล่อยมลพิษทั้งหมดทั่วโลก การสำรวจในสหรัฐอเมริกาพบว่า พลังงานที่ใช้ในเครื่องทำความร้อนกว่าครึ่งมาจากแก๊สธรรมชาติ นอกเหนือจากนั้นก็เป็นแก๊สโพรเพน ถ่าน น้ำมัน และไฟฟ้า ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นพลังงานที่ใช้แล้วหมดไปทางเลือกทดแทนที่น่าสนใจที่สุดในตอนนี้คือ การใช้ “เครื่องปั๊มความร้อน” (Heat Pumps)เครื่องปั๊มความร้อนทำงานอย่างไร แม้ในชื่อจะมีคำว่า ‘ความร้อน’ อยู่ แต่เทคโนโลยีนี้ทำงานได้สองแบบ คือ 1) ปั๊มความร้อนจากภายนอกเข้ามาในบ้าน โดยไฟฟ้าทุกๆ 1 กิโลวัตต์จะสามารถสร้างความร้อนได้ถึง 3 กิโลวัตต์ ทำให้ถูกกว่าการใช้ฮีตเตอร์เสียอีก 2) ปั๊มความร้อนออกและให้ความเย็นแก่พื้นที่ เพียงเท่านี้บ้านเราก็จะเย็นราวกับเปิดแอร์แม้เครื่องปั๊มความร้อนจะมีใช้มานานแล้ว แต่มักจะถูกมองข้ามและไม่มีการสนับสนุนให้นำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในครัวเรือน อย่างไรก็ตาม ในปี 2022 บริษัท Gradient จากซานฟรานซิสโก หนึ่งในหลายบริษัทที่พัฒนาเครื่องปั๊มอากาศที่ให้ทั้งความร้อนและความเย็น มีแผนว่าจะจัดจำหน่ายเครื่องปั๊มอากาศดีไซน์เรียบง่ายภายในปีหน้า

3) เครื่องบินพลังงานไฮโดรเจน

ทางออกของการลดมลภาวะบนท้องถนนคือรถยนต์ไฟฟ้า แต่สำหรับเครื่องบินที่ขนาดใหญ่กว่าและเดินทางไกลกว่า ไฟฟ้าอาจไม่ใช่ทางออก แต่เป็น “เซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน” ต่างหากเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจนมีข้อดีคือ เชื้อเพลิงที่นำไปใช้แล้วจะไม่สูญหายหรือสร้างมลภาวะ เพราะมันจะกลายเป็นน้ำบริสุทธิ์ (H2O) แทน ในปี 2022 มหาวิทยาลัยและบริษัทต่างๆ วางแผนจะทดลองเครื่องบินพลังงานไฮโดรเจนเป็นครั้งแรก และบางบริษัทมีแผนจะประกาศใช้จริงภายในปีหน้า

4) นวัตกรรมดักจับ CO2 ออกจากอากาศ

‘ถ้าคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ทำร้ายโลกนัก ทำไมไม่ดูดมันออกจากอากาศเลยล่ะ’ แนวคิดนี้เองทำให้สตาร์ตอัปหลายเจ้าหันมาพัฒนา “นวัตกรรมดักจับ CO2” (Direct Air Capture)  เช่น บริษัท Carbon Engineering จากแคนาดา พวกเขาวางแผนว่าในปี 2022 จะสร้างเครื่องจับ CO2 ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยเครื่องนี้จะสามารถจับ CO2 ได้มากถึง 1 ล้านตันต่อปีเลยทีเดียว ส่วนบริษัทที่ดำเนินการไปแล้วก็มีเช่นกัน อย่างปีนี้ บริษัท ClimeWorks ก็เปิดใช้งานเครื่องดักจับ CO2 ในไอซ์แลนด์ โดยเครื่องดังกล่าวดักจับ CO2 ในฟอร์มของแข็งได้มากถึง 4,000 ตันต่อปี



ผู้ตั้งกระทู้ mii (lelemimi888-at-gmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2023-08-29 10:40:03


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล *
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.